นอกจากหาข้อมูลเรื่องวีซ่าสำหรับไปเรียนต่อแล้ว น้อง ๆ หลายคนก็สนใจการไปทำงานที่ UK เพื่อหาโอกาสและไลฟ์สไตล์เรื่องงานที่ใช่สำหรับตัวเอง แต่วีซ่าทำงานก็มีอยู่หลายประเภท ไหนจะเกณฑ์และรายละเอียดยิบย่อย ที่อาจทำให้บางคนงงว่าตัวเองจะต้องขอยื่นวีซ่าประเภทไหน แล้วใครจะสามารถยื่นได้บ้าง มาค่ะ พี่ ๆ BACCOM จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักวีซ่าทำงานให้มากขึ้นกันนนน!
วีซ่าทำงานในอังกฤษจะมีหลายประเภทมาก แบ่งไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาของงาน วันนี้พี่ ๆ BACCOM ก็เลยจะมาแนะนำวีซ่าทำงาน 3 ประเภทที่น่าสนใจ นั่นก็คือ
Skilled Worker visa
Health and Care Worker visa
Government Authorised Exchange Visa (Temporary Work)
โดยน้อง ๆ สามารถอ่านรายละเอียดวีซ่าทำงานประเภทอื่นเพิ่มเติมได้ที่ วีซ่าทำงานใน UK เลยนะคะ
ถ้าพร้อมแล้วก็ไปทำความรู้จักวีซ่าทั้ง 3 ประเภทนี้กันค่า
1. Skilled Worker Visa หรือวีซ่าสำหรับแรงงานฝีมือ
วีซ่าแรงงานฝีมือ หรือชื่อเดิมคือ Tier 2 (General) Work Visa ก็คือวีซ่าทำงานทั่ว ๆ ไป เช่น วิศวกร สถาปนิก ศิลปิน เป็นต้น นอกจากนี้ ทาง UK ก็ได้จัดลิสต์อาชีพที่กำลังขาดแคลนไว้ด้วย น้อง ๆ สามารถเช็คได้จากลิงก์นี้เลยค่า Skilled Worker visa: shortage occupations
เงื่อนไขสำหรับการสมัครวีซ่า
ต้องได้รับ offer งานจากผู้ว่าจ้างหรือบริษัทที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยของ UK (Home Office) หรือจากสถานทูต
ได้รับ Certificate of Sponsorship จากผู้ว่าจ้างหรือบริษัท โดยจะต้องระบุรายละเอียดตำแหน่งงานไว้ด้วย
งานที่ทำจะต้องอยู่ในอาชีพที่กำหนด สามารถเช็คได้จาก Eligible Occupations and Codes
ข้อควรรู้สำหรับการถือวีซ่าแรงงานทักษะสูง
อายุวีซ่าอยู่ได้ถึง 5 ปี และต้องต่อใหม่เมื่อหมดอายุ เมื่อเปลี่ยนงานหรือผู้ว่าจ้าง
สามารถทำงานอาสาหรือรับงานบางงานเพิ่มเติมได้
สามารถลงเรียนคอร์สต่าง ๆ ได้
คนที่มีครอบครัว สามารถให้คู่สมรสและลูกทำวีซ่าผู้ติดตาม (Dependent Visa) เพื่อมาอาศัยอยู่ที่ UK ในฐานะผู้ติดตามได้ ถ้าคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Your partner and children
สามารถเดินทางเข้า-ออกจากสหราชอาณาจักรได้
เปลี่ยนวีซ่าได้หากคุณสมบัติครบตามกำหนด เช่น ระยะเวลาที่อาศัยใน UK เข้าเกณฑ์
ไม่สามารถใช้สิทธิ์รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาล UK (Public funds) ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลใช้ช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย รวมถึงการสนับสนุนเรื่องที่อยู่อาศัย
ไม่สามารถเปลี่ยนงานหรือผู้ว่าจ้างได้ถ้ายังไม่ได้อัปเดตวีซ่า
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร
พาสปอร์ต โดยอายุของพาสปอร์ตจะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือไม่หมดอายุระหว่างที่อยู่ในอังกฤษ และพาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
ผลตรวจปอด (TB test) จาก IOM
สำเนาบัตรประชาชนภาษาอังกฤษ
สำเนาทะเบียนบ้านภาษาอังกฤษ
เอกสารทางการเงิน
ใบรับรอง ATAS (Academic Technology Approval Scheme) หากสาขาที่เรียนต้องใช้
Certificate of Sponsorship ที่ได้ระบุชื่อและ Sponsor license number ของผู้ว่าจ้าง
รหัสอาชีพ (Occupation code) คือ รหัสอาชีพของผู้ยื่นขอวีซ่า ซึ่งจะอยู่ในใบ Certificate of Sponsorship
ผลคะแนนการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ โดยสามารถศึกษารายละเอียดว่าสอบอันไหนได้บ้างจาก การทดสอบภาษาอังกฤษที่ UK ยอมรับ และเกณฑ์ระดับภาษาจาก เกณฑ์ระดับภาษาอังกฤษ
ค่าตอบแทนเมื่อถือวีซ่า
โดยทั่วไปจะได้ค่าตอบแทนอย่างน้อย 26,200 ปอนด์/ปี หรือ 10.75 ปอนด์/ชั่วโมง โดยแต่ละอาชีพจะมีเรทราคาที่กำหนดไว้แตกต่างกันไป สามารถเช็คได้ที่ Skilled Worker visa: going rates for eligible occupations - GOV.UK
นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับคนที่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่านี้ แตกต่างไปตามอาชีพ อายุและสถานะของคนที่ถือวีซ่า
ค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่า
Skilled Worker visa อยู่ไม่เกิน 3 ปี : 719 ปอนด์
Skilled Worker visa อยู่นานกว่า 3 ปี : 1,243 ปอนด์
ค่าบริการทางการแพทย์ (Healthcare Surcharge) : 624 ปอนด์/ปี
ปล. ทาง UK จะลดค่าธรรมเนียมให้สำหรับคนที่ทำงานในลิสต์สายอาชีพที่กำลังขาดแคลน สามารถเช็ครายละเอียดได้ตามนี้เลยค่ะ Skilled Worker visa: shortage occupations - GOV.UK
ต้องสมัครตอนไหน
สามารถยื่นขอวีซ่าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนเริ่มงาน ซึ่งจะใช้เวลาพิจารณาวีซ่าประมาณ 3 สัปดาห์สำหรับคนที่สมัครขอวีซ่าจากนอกอังกฤษ และใช้เวลา 8 สัปดาห์ในกรณีที่สมัครในอังกฤษ
2. Health and Care Worker Visa หรือวีซ่าสำหรับบุคลากรสายงานดูแลสุขภาพ
น้อง ๆ สายการแพทย์หรือสังคมสงเคราะห์ต้องสนใจแน่นอน! เพราะวีซ่าประเภทนี้จะอนุญาตให้บุคลากรทางการแพทย์ เช่น หมอ พยาบาล และผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น นักสังคมสงเคราะห์เข้ามาอาศัยใน UK และทำงานกับหน่วยงานบริการด้านสุขภาพแห่งชาติ หรือ National Health Service (NHS) ได้
เงื่อนไขของผู้ที่ถือวีซ่า
ต้องได้รับ offer งานจาก NHS หน่วยงานบริการทางการแพทย์ที่ทำงานให้ NHS หรือหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ สามารถเช็คอาชีพที่อยู่ในขอบเขตวีซ่านี้ได้ที่ Eligible Occupations
ข้อควรรู้สำหรับการถือวีซ่าสำหรับบุคลากรสาย Healthcare
อายุวีซ่าอยู่ได้ถึง 5 ปี และต้องต่อใหม่เมื่อหมดอายุ เมื่อเปลี่ยนงานหรือผู้ว่าจ้าง
สามารถทำงานอาสาหรือรับงานบางงานเพิ่มเติมได้
สามารถลงเรียนคอร์สต่าง ๆ ได้
คนที่มีครอบครัว สามารถให้คู่สมรสและลูกทำวีซ่าผู้ติดตาม (Dependent Visa) เพื่อมาอาศัยอยู่ที่ UK ในฐานะผู้ติดตามได้ ถ้าคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Your partner and children
เปลี่ยนวีซ่าได้หากคุณสมบัติครบตามกำหนด เช่น ระยะเวลาที่อาศัยในอังกฤษเข้าเกณฑ์
ไม่สามารถใช้สิทธิ์รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาล UK (Public funds) ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลใช้ช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย รวมถึงการสนับสนุนเรื่องที่อยู่อาศัย
ไม่สามารถเปลี่ยนงานหรือผู้ว่าจ้างได้ถ้ายังไม่ได้อัปเดตวีซ่า
ค่าตอบแทนเมื่อถือวีซ่า
คนที่ได้วีซ่านี้แล้วจะต้องได้ค่าตอบแทนอย่างน้อย 26,200 ปอนด์/ปี หรือ 10.75 ปอนด์/ชั่วโมง โดยแต่ละอาชีพจะมีเรทราคาที่กำหนดไว้แตกต่างกันไป สามารถเช็คได้ที่ Skilled Worker visa: going rates for eligible occupations - GOV.UK
นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับคนที่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่านี้ แตกต่างไปตามลักษณะงาน อายุและสถานะของคนที่ถือวีซ่า
ค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่า
Health and Care Worker visa อายุไม่เกิน 3 ปี : 247 ปอนด์
Health and Care Worker visa อายุมากกว่า 3 ปี : 479 ปอนด์
ต้องสมัครตอนไหน
สามารถยื่นขอวีซ่าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนเริ่มงาน และใช้เวลาพิจารณาวีซ่าประมาณ 3 สัปดาห์
3. Government Authorised Exchange Visa (Temporary Work) หรือวีซ่าทำงานชั่วคราว
วีซ่านี้หรือชื่อเดิมคือ Tier 5 (Temporary Worker-Government Authorised Exchange) Visa เป็นวีซ่าสำหรับคนที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เพื่อมาเก็บประสบการณ์การทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างที่อยู่ที่ UK รวมถึงคนที่จะมาฝึกงานหรือทำวิจัยตามโครงการที่เปิดรับด้วยค่ะ โดยน้อง ๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับการรับรองที่ Government Authorised Exchange Schemes
เงื่อนไขในการสมัครวีซ่า
ต้องได้รับ offer งานจากบริษัทหรือหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติก่อน
ได้รับ Certificate of Sponsorship ที่ระบุชื่อ รายละเอียดงาน และ Reference Number
มีเงินพอรองรับค่าใช้จ่ายระหว่างที่อาศัยอยู่ใน UK
ระยะเวลาในการอาศัยอยู่ที่ UK อยู่ระหว่าง 12 หรือ 24 เดือน โดยจะขึ้นอยู่กับประเภทของโครงการที่สมัคร
ข้อควรรู้สำหรับผู้ถือวีซ่า
สามารถลงเรียนได้
สามารถทำงาน โดยจะต้องเป็นงานที่ระบุใน Certificate of Sponsorship เท่านั้น
สามารถทำงานเสริมได้ แต่ต้องไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
สามารถทำงานในลิสต์อาชีพขาดแคลนใน UK ได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
คนที่มีครอบครัว สามารถให้คู่สมรสและลูกทำวีซ่าผู้ติดตาม (Dependent Visa) เพื่อมาอาศัยอยู่ที่ UK ในฐานะผู้ติดตามได้ ถ้าคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Your partner and children
ไม่สามารถทำงานประจำได้
ไม่สามารถใช้สิทธิ์รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาล UK (Public funds) ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลใช้ช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย รวมถึงการสนับสนุนเรื่องที่อยู่อาศัย
เอกสารทางการเงินและจำนวนเงินที่ต้องมีในบัญชี
ในบัญชีธนาคารของเราจะต้องมีเงินฝากอยู่อย่างน้อย 1,270 ปอนด์ เพื่อแสดงว่าสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเองระหว่างที่อยู่ใน UK ได้ โดยเงินที่ฝากจะต้องอยู่ในบัญชีเป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 28 วัน และควรฝากในช่วงไม่เกิน 1 เดือนก่อนทำวีซ่า
กรณีพิเศษสำหรับคนที่ไม่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน
อาศัยอยู่ใน UK มานานกว่า 12 เดือน โดยที่วีซ่ายังไม่หมดอายุ
มีผู้ว่าจ้างสนับนุนค่าใช้จ่ายภายในเดือนแรกที่มาอยู่ UK โดยจะช่วยเหลือได้ไม่เกิน 1,270 ปอนด์ และจะต้องระบุการสนับสนุนทางการเงินใน Certificate of Sponsorship ไว้ด้วย
และสำหรับคนที่มีครอบครัวมาอาศัยอยู่ด้วย สามารถดูรายละเอียดค่าใช่จ่ายได้ทางนี้เลยค่า Your partner and children
ค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่า
Government Authorised Exchange Visa (Temporary Work) : 259 ปอนด์
ต้องสมัครตอนไหน
สามารถยื่นขอวีซ่าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนเริ่มงาน และใช้เวลาพิจารณาวีซ่าประมาณ 3 สัปดาห์
เอกสารที่ใช้ในการสมัครวีซ่าทำงาน
เอกสารทั่วไป
พาสปอร์ต โดยอายุของพาสปอร์ตจะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือไม่หมดอายุระหว่างที่อยู่ในอังกฤษ และพาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
ผลตรวจปอด (TB test) จาก IOM
สำเนาบัตรประชาชนภาษาอังกฤษ
สำเนาทะเบียนบ้านภาษาอังกฤษ
เอกสารทางการเงิน
Certificate of Sponsorship ที่ได้ระบุชื่อและ Sponsor license number ของผู้ว่าจ้าง
รหัสอาชีพ (Occupation code) คือ รหัสอาชีพของผู้ยื่นขอวีซ่า ซึ่งจะอยู่ในใบ Certificate of Sponsorship
ผลคะแนนการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ โดยสามารถศึกษารายละเอียดว่าสอบอันไหนได้บ้างจาก การทดสอบภาษาอังกฤษที่ UK ยอมรับ และเกณฑ์ระดับภาษาจาก เกณฑ์ระดับภาษาอังกฤษ
เอกสารเฉพาะแต่ละวีซ่า
Skilled Worker Visa
เอกสารแสดงตำแหน่งและเงินเดือน
Health and Care Worker Visa
ใบรับรอง ATAS (Academic Technology Approval Scheme) หากสาขาที่เรียนต้องใช้
Government Authorised Exchange Visa (Temporary Work)
จดหมายยินยอมจากรัฐบาลหรือสถาบันทุนการศึกษานานาชาติ (International Scholarship Agency) ให้อาศัยและเข้า-ออก UK
เอกสารทางการเงินและจำนวนเงินที่ควรมีในบัญชี
เอกสารทางการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 1 เดือนก่อนยื่นขอวีซ่า
มีเงินในบัญชีอย่างน้อย 1,270 ปอนด์ โดยที่เงินจะต้องอยู่ในบัญชีติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 28 วัน
BACCOM TIPS - เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
1. ขอเอกสารภาษาอังกฤษได้ที่ไหน
น้อง ๆ สามารถขอเอกสารสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับภาษาอังกฤษได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอตามที่อยู่ของน้อง ๆ ได้เลยค่า ดูวิธีการขอและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ - กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ส่วนเอกสารทางการเงินก็สามารถขอที่ธนาคาร หรือ Internet Banking ได้ โดยธนาคารแต่ละที่อาจจะมีเงื่อนไขการขอเอกสารแตกต่างกันไป แนะนำให้น้อง ๆ ลองศึกษาเพิ่มเติมนะคะ
2. ขั้นตอนการสมัคร
2.1 กรอกข้อมูลและอัปโหลดไฟล์เอกสาร ได้ที่เว็บไซต์ https://visas-immigration.service.gov.uk/alt-language-selection-skip-visa
2.2 เมื่อน้อง ๆ กรอกข้อมูลในเว็บไซต์ใกล้เสร็จแล้ว น้อง ๆ จะต้องเลือกศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า (Visa Application Center) พร้อมทั้งวันและเวลาที่สะดวกไปติดต่อเพื่อจะได้ไปทำเรื่องนั่นเองค่า
2.3 เมื่อสมัครออนไลน์เรียบร้อยแล้ว น้อง ๆ จะต้องปริ้นเอกสาร 3 อย่างคือ
Appointment Confirmation คือ เอกสารที่บอกสถานที่และวันเวลาที่เราเลือกไปขอวีซ่า
Document Checklist คือ รายการเอกสารที่ต้องใช้ เวลาไปยื่นที่ศูนย์ฯ เจ้าหน้าที่จะเช็คว่าเรามีเอกสารครบมั้ย
หลักฐานการจ่ายเงิน
2.4. จากนั้นนำเอกสาร 3 อย่างด้านบน พร้อมกับพาสปอร์ตตัวจริงและฉบับสำเนาไปยื่นตามสถานที่และวันเวลาที่เราจองไว้เพื่อถ่ายรูปและสแกนลายนิ้วมือ หรือที่เรียกกันว่า Biometric Information ค่า
2.5 หลังจากทำ Biometric Information แล้วจะมีสัมภาษณ์ด้วยนะคะ
3. ยื่นขอวีซ่า UK ได้ที่ไหน
ในประเทศไทยจะมี VFS (Visa Facilitation Services Global) เป็นเอเจนซี่ให้บริการเรื่องการขอวีซ่าที่ได้การรับรองจากสถานทูตอยู่หลายที่ แต่ส่วนมากคนที่ขอวีซ่า UK จะยื่นกันที่ VFS ตึกเทรนดี้ สุขุมวิท หรือถ้าหากน้อง ๆ ไม่สะดวกสมัครที่ VFS สาขาสุขุมวิท ก็สามารถหาที่ ๆ สะดวกตามลิงก์นี้ได้เลยนะ ศูนย์รับยื่นคำร้องขอวีซ่า
ในกรณีที่ยื่นขอวีซ่าจากใน UK สามารถไปทำเรื่องได้ที่ UK Visa and Citizenship Application Services (UKVCAS) ซึ่งเป็นศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าที่มีให้บริการอยู่หลายที่เลยค่ะ น้อง ๆ สามารถกรอกรหัสไปรษณีย์เพื่อค้นหาตำแหน่งที่สะดวกในการเดินทางไปทำเรื่องได้ที่ Find a Service Point location เลยค่า
และนี่ก็เป็นวีซ่าทำงานที่พี่ ๆ BACCOM อยากแนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จัก จะได้เป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากไปโลดแล่นในสายอาชีพที่ตัวเองสนใจใน UK รวมทั้งคนที่กำลังหาข้อมูลเรื่องวีซ่าทำงานอยู่ด้วยเหมือนกันค่า
นอกจากนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาที่พักในอังกฤษ สามารถติดต่อพี่ ๆ BACCOM ได้เลยนะคะ พี่ ๆ มีบริการหาที่พักในอังกฤษ รับรองว่าได้ที่พักตรงปก ได้ห้องถูกใจในราคาตามงบที่น้อง ๆ อยากได้แน่นอนค่า ☺️
🏡 เรื่องที่พักในอังกฤษให้ BACCOM ดูแล 🇬🇧 ครบทุกบริการที่ต้องการ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย 💕
💚 LINE ID : @baccomuk
💙 Facebook : BACCOM UK
❤️ Youtube: BACCOM UK
📩 Email: hello@baccom.co.uk
☎️ UK Call : +44 7400 902 392
☎️ TH Call : +66 62 656 9422
🔗 ดูบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่
Website : www.baccom.co.uk
Comments